Saturday, June 21, 2008

ประวัติศาสตร์ยุคก่อนเริ่มต้น...วงดนตรี Camera Eyes.

















*************************************************************

History of Camera Eyes.



...ราวปี 2534 ปนาพันธ์ นุตร์อำพันธ์ ได้รับการทาบทามให้ไปทำดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์หมาบ้า ร่วมกับ ทิวา สาระจูฑะ ( บรรณาธิการนิตยสารสีสัน ) โดยทิวาเป็นผู้ประพันธ์เพลง ปนาพันธ์แต่งดนตรี

หลังจากภาพยนตร์ออกฉายทางนิตยสารสีสัน ( ต้นสังกัด ) เข็ญซาวน์ดแทร็คอัลบั้มชื่อเดียวกับภาพยนตร์ออกจำหน่าย ระหว่างนั้นปนาพันธ์ทำงานตำแหน่งบรรณาธิการนิตยสาร Car Audio และเขียนหนังสือ

...ปีต่อมา ทั้ง ทิวาและปนาพันธ์ ร่วมกันทำดนตรีประกอบละครเวทีเรื่อง 2000 มหัศจรรย์วันล้างโลก ( นำแสดงโดย ส. อาสนะจินดา และวง หินเหล็กไฟ ) แสดง ณ หอประชุมเอยูเอ โดย ทิวาประพันธ์เพลง ปนาพันธ์แต่งดนตรีเหมือนเดิม

...ต่อมาปนาพันธ์ตัดดนตรีประกอบละครเวทีดังกล่าวออกจำหน่ายภายใต้ชื่อชุด 2000 Miracle…and the Madonna Toy ( Onpa จัดจำหน่าย )


...ประมาณ ปี 2535 วง Camera Eyes ออกอัลบั้มชุดแรก A Terry Flying Obsession เป็นแนวโพรเกรสสีฟร็อค ( เต็มสูบ ) สมาชิกประกอบด้วย ทรงพล ดลสุข ( ร้องนำ เปิ้ล ( เบส / ประสาน ) และ ปนาพันธ์ ( กีตาร์ / คีย์บอร์ด ) บางเพลงที่บรรเลงออกแนว Experimental music หรือดนตรีทดลอง ผลงานลึกล้ำเกินไปจนคนฟังกระเดือกไม่ลง ผลจึงไม่ประสบความสำเร็จ....ในช่วงเวลานั้น...มีเพื่อนอีกคนหนึ่งที่เข้ามามีส่วนร่วมในการฟังเนื้อดนตรีและร่วมวิจารณ์ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวเพลงต่าง ๆ ทั้งการทำอัลบั้มของพวกเรา และแนวดนตรีจากต่างประเทศร่วมกันเสมอ...คือ ร้อยตะวัน (Roytavan)..ซึ่งเป็นผู้หญิงคนเดียวในทีม...ซึ่งน่าจะพูดได้ว่าเป็นคนที่มีพรสวรรค์ในการฟังเนื้อดนตรีได้หลายแนวรวมทั้งแนว Progressive Rock...

ระหว่างนั้นสมาชิกของวงมีงานอื่นประจำอยู่ เปิ้ลกับทรงพลเล่นดนตรีประจำ ปนาพันธ์เขียนหนังสือและทำงานอยู่บริษัทโพรดัคชั่นเฮ้าส์

กลาง ปี 2537 ปนาพันธ์ฟอร์มวง Panaphan II ( ปนาพันธ์ทู ) ออกอัลบั้ม ปลายศตวรรษที่ 20 สังกัดตราอีไมเนอร์ ( สาขา EMI ) ผลงานชุดนี้ได้รับเสียงตอบรับดีกว่าที่ผ่าน ๆ มา ดนตรีลดความซับซ้อนลงไปแตะ Hard rock

สมาชิกประกอบด้วย สมชาย สุริยาสถาพร ( กลอง )
เกรียงไกร หอประสงค์ผล( ร้องนำ )
ธนพงศ์ เฉลิมราษฏ์( เบส )
และปนาพันธ์ นุตร์อำพันธ์( กีตาร์ )


มีเพลงเด่นหลายเพลงที่เคยติดอันดับท็อปเท็นคลื่นเอฟเอ็ม ( สมัยนั้น ) เป็นต้นว่า รวมกันเป็นหนึ่ง, ที่พักพิง, ใจเปลี่ยนคนเปลี่ยน และ สิ่งเร้าและแรงต้าน ตอนนั้น ...ทิวา สาระจูฑ...ะ นำภาพลักษณ์และแนวทางของวงไปเปรียบเทียบกับ Foreigner วงร็อคจากเกาะอังกฤษระดับหัวแถวต้นทศวรรษที่ 1980 ( นำโดย มิค โจนส์ )

ปีต่อมา ปนาพันธ์ทูออก อีพีอัลบั้มบรรจุ 6 เพลง ชื่อ The Visitant From Star ลีลายังไม่หนีจากอัลบั้มชุดที่แล้ว แต่บางเพลงอย่าง ภาพสุดท้าย ดนตรีเป็นซอท์ฟร็อคออกโรแมนติคแต่เนื้อหากลับเป็นไซ-ไฟ ได้รับความนิยมพอประมาณ อีพีชุดนี้สังกัดตราดราม่าเธียเตอร์และออนป้าจัดจำหน่าย หลังจากผลงานชิ้นนี้ปนาพันธ์ทูหยุดกิจกรรมดนตรีไประยะสั้น ๆ

ปี 2539 คาเมร่าอายส์ รี-ฟอร์มขึ้นใหม่โดยสมาชิกสามคนที่กลับมา สมชาย ธนพงศ์ และปนาพันธ์ ส่วนเกรียงไกรแยกตัวออกไป อัลบั้มชุดใหม่ชื่อ ภาพสุดท้าย ได้นักร้องรับเชิญ ...เป้ สีน้ำ ( อรรณพ ศรีสัจจา )... มาร่วมงานเฉพาะกิจ เพลงเด่น อาทิ ภาพสุดท้าย ( เวอร์ชั่นเป้ สีน้ำ ร้อง ) ซึ่งคัฟเวอร์จากอีพีชุดก่อนของปนาพันธ์ทู 4 เพลง นำมาบรรเลง ร้อง และมิกซ์เสียงใหม่ ภายใต้สังกัดดราม่าเธียเตอร์

เพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มคาเมร่าอายส์กลับสู่ตัวตนเดิม เพลงเด่นของอัลบั้มชุดนี้นอกจาก ภาพสุดท้าย แล้วยังมี กำแพง, เกมส์มนุษย์ และ มิตรหรือศัตรู สำหรับเพลงหลังพวกเขาพาไปพบกับเรื่องราวของมนุษย์แอนดรอยด์ ศัตรูนอกพิภพที่แปลงร่างมาเป็นมนุษย์เพื่อก่อการร้าย ก่อนจะถูกจับได้และนำไปสู่การต่อสู้กันจนอวกาศสั่นสะเทือน ทั้งยาวเหยียดและหลากหลายลีลา

หลังจากอัลบั้มชุด ภาพสุดท้าย คาเมร่าอายส์ยุติกิจกรรมดนตรีลงไม่มีกำหนดกระทั่งปัจจุบัน ( 2550 ) สมาชิกทั้งหมดแยกไปดำเนินชีวิตตามเส้นทางถนัดของแต่ละคน โดย เพื่อนร่วมชะตากรรมตั้งแต่เริ่มต้น เช่น ...ทิวา สาระจูฑะ ประกอบธุรกิจของตนเอง คือ บริษัท สีสันบันเทิง จำกัด และนิตยสาร สีสันบันเทิง ,เป้ สีน้ำ (อรรณพ สีสัจจา) เปิดโรงเรียนสอนภาพเขียน ชื่อ โรงเรียนธรรมชาติบ้านริมน้ำ เขียนหนังสือและทำอัลบั๊มของตนเอง เช่น บทเพลงของเธอ ม่านใบไม้ เป็นต้น ,...ส่วนคนสุดท้าย ร้อยตะวัน (กาญจนฺมุนี ศรีวิศาลภพ)ประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าหลายประเภท เชี่ยวชาญเรื่องพืชพันธุ์กาแฟและธุรกิจกาแฟ แต่งเพลงประกอบละคร และเขียนหนังสือ อาทิเช่น คุณรู้เรื่องกาแฟดีแค่ไหน...?,ทักษิณบนบัลลังก์นายกรัฐมนตรี และดอกไม้สื่อรัก เป็นต้น

ปี 2540 ปนาพันธ์ ไปเป็นโพรดิวเซอร์ให้ วัฒนาวรรณ ขันอาษา อัลบั้ม Shade ศิลปินหญิงแนว Pop art สังกัด ดราม่าเธียเตอร์ โรต้าจัดจำหน่าย เพลงเด่นในชุดนี้ เมฆหมอกและพายุ, เจ็บเพื่อเข้าใจ, บัวจม และ ขอคำนั้นคืน สำหรับเพลง เจ็บเพื่อเข้าใจ แต่งโดย ทิวา สาระจูฑะ เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ พันธุ์หมาบ้า แต่นำมาเรียบเรียงดนตรีใหม่ ส่วน เมฆหมอกและพายุ คัฟเวอร์จากคาเมร่าอายส์ ตอกไข่ใส่สีเสียใหม่จนจำหน้าตาแทบไม่ได้

...วัฒนาวรรณ...เป็นนักร้องเสียงดีมากคนหนึ่ง มีประสบการณ์จากการร้องประจำสถานบันเทิงในกรุงเทพฯมาก่อน ปนาพันธ์เคยปรารภเสมอถึงความสามารถของเธอที่ทั้งเนื้อเสียงไพเราะมีคาแร็คเตอร์และยังประพันธ์เพลงได้ดี ปัจจุบันวัฒนาวรรณหันไปประกอบอาชีพมัณฑนากรตามที่เรียนมา ( ม. ศิลปากร ) และร้องเพลงบางวาระโอกาส ที่เชียงใหม่

ปี 2543 เกรียงไกร หอประสงค์ผล ไปฟอร์มวง UOK ร่วมกับ อัศฎากร ภักดีณรงค์ และ ชาย ปัญญาพิทักษ์พงศ์ ออกอัลบั้ม แล้วแต่ศรัทธา สังกัดตรา Ikon Records

ปี 2551 มีสัญญาณการกลับมาของพวกเขาวาบมาเข้าหู แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าจะมีการรี-ฟอร์มเพื่อออกผลงานใหม่อีกหรือไม่

หลังจากยุบวงพวกเขาไปไหน?

...ไม่ได้ไปไหนหรอก สมชาย สุริยาสถาพร ทำงานด้านถ่ายภาพ ( ตามถนัด ) และปัจจุบันเปิดสตูดิโอสอนโฟโต้ช็อปร่วมกับศรีภรรยา ไปสัมผัสผลงานภาพถ่ายของเขาและแฟนได้ที่เว็บไซต์
http://www.cameraeyes.net/

เกรียงไกร หอประสงค์ผล ( เปลี่ยนชื่อเป็น ทรงธรรม ) อุปสมบทบท ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์ ไม่มีแนวโน้มว่าจะลาสิกขาแต่อย่างใด เนื่องจากเตรียมข้อมูลเขียนหนังสือธรรมประยุกต์และภารกิจศึกษาพระธรรม

ส่วน ธนพงศ์ เฉลิมราษฎ์ ทำงานด้านกราฟฟิคดีไซน์ เคยมีโครงการจะออกโซโลอัลบั้มอยู่ช่วงหนึ่งก่อนจะเงียบลงไป หนุ่ย-ธนพงศ์ได้รับการยกย่องว่าเป็นมือเบสระดับหัวแถวคนหนึ่ง ก่อนจะมาเป็นหนึ่งในคาเมร่าอายส์เขาเคยร่วมงานกับ พิสุทธิ์ แสงวิจิตร ( สังกัด อาร์เอส ) เป็นต้น

และคนสุดท้าย ปนาพันธ์ นุตร์อำพันธ์ หลังจากวางมืองานดนตรี เขามุ่งหน้าถนนสายหนังสือเต็มตัว มีผลออกจำหน่ายทั้งนวนิยายแนว Thriller และ ปรัชญา ( NewAge ) ( ธรรมประยุกต์ ) กับหลายสำนักพิมพ์ อาทิ นานมีบุ๊คส์ มติชน และสร้างสรรค์ ล่าสุด ปนาพันธ์แต่งนวนิยายไตรภาค โลกอื่น ภาคแรก ( มี 2 เล่ม ) ออกวางแผงปลายเดือนเมษายน 2551 จัดพิมพ์โดยเลมอนบุ๊คส์ ถัดจากนั้นจะมีอีกเรื่อง กล่องดำคานธี ตามมา และปลายปีเรื่อง ณ ที่นั้นเธอกลัว ( ฉบับรีไรท์ใหม่ ) ออกวางแผง ทั้งหมดจัดพิมพ์โดยเลมอนบุ๊คส์

...ปัจจุบัน ( ต้นเมษายน 2551 ) เขากำลังแต่ง โลกอื่น ( ภาค 2 ) ปลายปีนี้นอกจากมิตรรักแฟนเพลงจะได้อ่านผลงานหนังสือเล่มใหม่ของเขา มีสัญญาณว่าคาเมร่าอายส์อาจจะกลับมาในงานเปิดตัวหนังสือด้วย คอยติดตามข่าวความเคลื่อนไหวอีกครั้ง ณ เว็บไซต์แห่งนี้...

...สำหรับท่านที่สนใจผลงานเพลงของ Camera Eyes ชุด ภาพสุดท้าย และ The Visitant From Star และของ วัฒนาวรรณ อัลบั้ม Shade ติดต่อมาที่ cameraeyesclub@gmail.com



************************************

Friday, June 20, 2008

The Camera Eye Song by Rush...to Camera Eyes Band.



The Camera Eye Song by Rush
Album 'Moving Pictures'
Released February 28, 1981
Genre Progressive rock
Length 10:56
Label Mercury Records
Producer Rush & Terry Brown


The Camera Eye is an epic rock song by Canadian progressive rock band Rush from their 1981 album, Moving Pictures. The song, at nearly 11 minutes long, is one of Rush's longest songs, surpassed only by the likes of The Fountain of Lamneth, The Necromancer, 2112, Cygnus X-1, and Xanadu. The song was the last song written by Rush to breach the 10 minute mark, though Fear, which was continually released until Vapor Trails, is over 20 minutes combined. The song begins with three minutes of instrumental fade-in before the lyrics begin. It is interesting to note that at roughly 2:16 into the song, the opening sequence to YYZ (the Morse Code for the letters "YYZ" on crotales) can be heard. The song, like most of Rush's music in this period, relies heavily on the synthesizer. At 8:53, a background noise can be heard; some people think that this noise is Geddy Lee burping and stating "Oh God..." In fact, it is the sound of two Londoners - a refined voice saying "Hello" followed by a working class "Mornin' guv'". Most interesting of note is the fact that The Camera Eye is the number one requested song for live performance in recent years by Rush fans the world over. Although the song was last performed live in the early 80s (on the Moving Pictures tour, the Exit... Stage Left tour, the Signals Warm-Up tour, and the Signals tour), Rush tours of late, have not granted this request. The song's last known live performance was on May 25, 1983, at the Royal Highland Exhibition Centre in Edinburgh, Scotland, at the end of the Signals Tour.



*******************************************************

Thursday, June 19, 2008

Progressive Rock Sampile Music ...For Today.


Progressive Rock Sampile Music ...For Today.

Pink Floyd: Time

Ticking away the moments that make up a dull day
You fritter and waste the hours in an offhand way.
Kicking around on a piece of ground in your home town
Waiting for someone or something to show you the way.

Tired of lying in the sunshine staying home to watch the rain.
You are young and life is long and there is time to kill today.
And then one day you find ten years have got behind you.
No one told you when to run, you missed the starting gun.

So you run and you run to catch up with the sun but it's sinking
Racing around to come up behind you again.
The sun is the same in a relative way but you're older,
Shorter of breath and one day closer to death.

Every year is getting shorter never seem to find the time.
Plans that either come to naught or half a page of scribbled lines
Hanging on in quiet desperation is the English way
The time is gone, the song is over,
Thought I'd something more to say.
I like to be here, but I can't.
When I come home already tired.
Scroll to warm my body beside the fire.


**************************************************

“Progressive Rock/ Art Rock”

DDT: Musiclopedia
ตุลาคม 24, 2006, 2:58 pm
Filed under: DDT Inside
“Progressive Rock/ Art Rock”

[Published in DDT Magazine Issue#3]


“โปรเกรสซีฟร็อก (Progressive rock) และอาร์ตร็อก (Art Rock) คือสองแนวดนตรีที่เป็นเสมือนคู่ฝาแฝดในกันและกัน อันถือกำเนิดจากนักดนตรีชาวอังกฤษที่พยายามยกระดับดนตรีร็อกให้สูงล้ำขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นความสลับซับซ้อนของเนื้อดนตรีที่ทวีขึ้นอีกหลายเท่าตัว ความโดดเด่นของเนื้อหาที่ลึกซึ้งราวกับยกมาจากบทกวีในวรรณกรรมโบราณระดับคลาสสิค และการเล่นดนตรีที่หลุดออกจากกรอบของกีตาร์เบสกลองทั่วๆ ไปในช่วงปลายยุค 60

“ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากเพียงไม่กี่ประการของสองแนวดนตรีนี้คือ โปรเกรสซีฟ ร็อก นั้นจะมีรูปแบบดนตรีที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยมมากกว่า และแนบชิดอยู่กับอิทธิพลของดนตรีคลาสสิค ส่วนเนื้อร้องก็จะให้ความสำคัญกับความสละสลวยทางการประพันธ์มากกว่า หากไม่เป็นการร่ายบทกวีก็จะเป็นเรื่องราวในแบบนิยายวิทยาศาสตร์ ในขณะที่อาร์ตร็อกนั้นจะมีลักษณะของการทดลองและได้รับอิทธิพลของดนตรีอวองการ์ตในปริมาณที่สูงกว่า และทดแทนความทะเยอทะยานในโลกของดนตรีคลาสสิคของเนื้อเสียงที่แปลกใหม่แทน

“ทั้งสองแนวดนตรีแตกต่างจากแวดวงป๊อปที่ขับเน้นซิงเกิ้ลความยาวสามนาทีเป็นหลัก ด้วยการนำเสนอบทเพลงในรูปแบบของอัลบั้มเป็นสำคัญ รวมทั้งการประพันธ์เพลงที่ยาวขึ้น มีโครงสร้างซับซ้อนขึ้น และการบรรเลงดนตรีที่ขยับขยายแนวทางและลีลาออกไปอีก และจากประวัติศาสตร์กว่าสามทศวรรษของศิลปินในแนวทางโปรเกรสซีฟร็อก อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเสมือนเอกลักษณ์หนึ่งก็คือ การทำอัลบั้มที่มีเนื้อหารวมศูนย์อยู่ที่แนวคิดรวบยอดเพียงเรื่องเดียวหรือที่เรียกกันว่า คอนเซ็ปต์อัลบั้ม (Concept Album) นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของชีวิตศิลปินที่ถือกำเนิดมาหลังจากยุคสงครามโลกครั้งที่สองของ Pink Floyd (อัลบั้ม The Wall) หรืออัลบั้ม Tales From Topographic Ocean ของ Yes ที่นำแนวคิดมาจากบทความเกี่ยวกับวิถีของโยคี (Autobiography of a Yogi) ในขณะเดียวกันแนวดนตรีสองแนวนี้ก็เป็นแนวทางแรกที่ริเริ่มนำซินซิไซเซอร์และรายละเอียดดนตรีในแบบอิเล็กโทรนิคเข้ามาสู่ดนตรีร็อก

“เมล็ดพันธุ์แรกๆ ที่ส่งผลออกดอกออกมากลายมาเป็นดนตรี โปรเกรสซีฟ และอาร์ตร็อกในเวลาต่อมานั้นจะจุดเริ่มอยู่ในบทกวีของ Bob Dylan และอัลบั้มในแบบคอนเซ็ปต์อย่าง Freak Out! ของ the Mothers of Invention และ Sgt. Pepper’s Lonely Hearts Club Band ของวงสี่เต่าทอง the Beatles ซึ่งพิสูจน์ให้โลกเห็นว่ดนตรีร็อกสามารถเป็นได้มากกว่าดนตรีของวัยรุ่น และสามารถนำเสนออย่างจริงจังในรูปแบบของงานศิลปในอีกรูปแบบหนึ่งได้

“ดนตรีโปรเกรสซีฟร็อกได้เติบโตขึ้นอย่างจริงจังภายหลังจากจุดสูงสุดของซีนไซคีเดลิคในปี 1967 ด้วยผลงานคลาสสิคอล/ซิมโฟนิก ร็อก (Classical/Symphonic rock) ของ the Nice, Procol Harum และ the Moody Blues ก่อนที่จะสร้างเอกลักษณ์เฉพาะแนวทางขึ้นมาด้วยฝีมือของวง King Crimson กับอัลบั้มชุดแรก In the Court of the Crimson King ในอีกสองปีหลังจากนั้น และเริ่มขยับขยายเป็นสังคมของตัวเองอย่างเด่นชัดที่เมืองแคนเตอร์เบอรี่ที่มี the Soft Machine เป็นหัวหอก จากนั้นก็กลายมาเป็นกระแสหลักของความนิยมในช่วงครึ่งแรกของยุค 70 Emerson, Lake & Palmer, Yes, Jethro Tull, Genesis และ Pink Floyd คือวงดนตรีระดับแนวหน้าในช่วงเวลานั้น ในขณะเดียวกันแวดวงของศิลปินที่มีรูปแบบการนำเสนอที่สลับซับซ้อนกว่านั้นก็ถือกำเนิดขึ้นในประเทศเยอรมนี

“อย่างไรก็ตาม กระแสความนิยมของดนตรีโปรเกรสซีฟ และอาร์ตร็อก ก็ถึงจุดอิ่มตัวและเสื่อมสลายลงในช่วงครึ่งหลังของยุค 70 พร้อมทั้งถูกแทนที่ด้วยดนตรีที่เรียบง่าย และก้าวร้าวในเนื้อหาอย่างดนตรีพังค์ ที่มีรูปแบบตรงกันข้ามกับความซับซ้อนเข้าใจยากของสองคู่แฝดนี้อย่างโดยสิ้นเชิง ศิลปินในแนวทางนี้ส่วนใหญ่ก็จะล้มหายตายจากไป เหลือเพียงผู้นำกระแสเพียงไม่กี่ราย ซึ่งเกือบทั้งหมดต้องปรับรูปแบบดนตรีเพื่อให้เข้ากับความต้องการของคนฟัง ซึ่งกลายมาเป็นต้นธารแรกของดนตรีโปรเกรสซีฟร็อกในแบบร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น จากผลงานของวงอย่าง Marillion ในยุค 80

“บทเพลงในแบบโปรเกรสซีฟร็อก หรือาร์ตร็อกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลของนักดนตรีไทยในช่วงนี้เอง อาทิบางส่วนของเพลงของวง Rockestra ในยุคแรกทั้ง เทคโนโลยี หรือ วิทยาศาสตร์ ทว่าส่วนใหญ่จะจำกัดอยู่ในวงแคบๆ ไม่ว่าจะเป็นอัลบั้ม เรามาร้องเพลงกัน ของ เรวัต พุทธนันทน์ กับวงคีตกวี อัลบั้มของวงอนัตตา และงานเพลงของวง Butterfly Camera Eyes หรือจินตา แม้กระทั่งธเนศ วรากุลนุเคราะห์ก็เคยสร้างสรรค์งานในแนวทางนี้กับอัลบั้ม คนเขียนเพลงบรรเลงชีวิต มาแล้ว แต่ก็เป็นเพียงการจุดประกายเล็กๆ เช่นเดียวกับในต่างประเทศที่ดนตรีโปรเกรสซีฟได้ตายไปจากธุรกิจเพลงไปแล้ว ก่อนที่จะพัฒนาจนกลายเป็นดนตรีโปรเกรสซีฟเมทัลในช่วงยุค 90 ที่สร้างความสำเร็จได้พอสมควร จนเกิดเป็นขบวนการนีโอโปรเกรสซีฟร็อกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ในงานของ Dream Theater, Ayreon, Spock’s Beard ฯลฯ อันแสดงให้เห็นว่าถึงแม้ว่ารูปแบบดั้งเดิมของโปรเกรสซีฟ หรืออาร์ตร็อกจะเสื่อมความนิยมลง แต่จิตวิญญาณของทั้งสองแนวก็ยังคงแอบแฝงอยู่ในนักดนตรีที่ต้องการนำเสนอบางสิ่งบางอย่างนอกเหนือจากดนตรีที่ตรงไปตรงมาในแบบมาตรฐานตลอดมาเช่นเดียวกัน”

Top Artists
+ Emerson, Lake & Palmer
+ Genesis
+ King Crimson
+ Pink Floyd
+ Yes
+ อนัตตา
+ Butterfly
+ Camera Eyes
+ เสียมเรียบ
+ พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

Top Albums
+ Dark Side of the Moon / Pink Floyd
+ In the Court of the Crimson King / King Crimson
+ Todd Rundgren’s Utopia / Utopia
+ The Human Equation / Ayreon
+ Kalevala: A Finnish Progressive Rock Epic / Various Artists
+ Butterfly II / Butterfly
+ คนเขียนเพลงบรรเลงชีวิต / ธเนศ วรากุลนุเคราะห์
+ ปลายศตวรรษที่ 20 / ปนาพันธ์ II
+ สมุทรกำสรวล / เสียมเรียบ
+ แชมบาลา / พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

Top Songs
+ Supper’s Ready / Genesis
+ Thick As A Brick / Jethro Tull
+ Close to the Edge / Yes
+ Karn Evil 9 / Emerson, Lake & Palmer
+ Cygnus X-1 Book II Hemispheres / Rush
+ พรรณวดี / อนัตตา
+ ดนตรีคีตา / เรวัต พุทธินันทน์ และ คีตกวี
+ Action! / Butterfly
+ (จิต) จากใจ / ธเนศ วรากุลนุเคราะห์
+ ภาพสุดท้าย / Camera Eyes

***********************************************************